วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการดูแลรักษาปั๊มน้ำ

การดูแลรักษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีการดูแลรักษาที่ถูกวิธี ก็จะทำให้ปั๊มน้ำมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

ปั๊มน้ำแต่ละชนิดก็จะมีการดูแลรักษาที่แตกต่างออกไป โดยเราสามารถแบ่งการดูแลบำรุงรักษาออกเป็น 3 ระยะคือ การตรวจประจำวัน เช่น วัดอุณหภูมิ ดูการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า การตรวจประจำเดือนหรือทุกๆ 6 เดือน เช่น การเติมน้ำมัน เติมไขให้ที่รองลื่น และการตรวจประจำปี เช่น การตรวจเช็คเพลา เกจ์วัดค่าต่างๆ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำ ปั๊มลม หรือปั๊มสุญญากาศเมื่อเราใช้งานมันแล้ว ก็ควรจะมีวิธีการดูแลรักษาให้ถูกวิธีเพื่อที่จะได้ยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น อย่างแรกคือสายพาน สายพานที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นประมาณครึ่งนิ้ว เราควรสังเกตว่าสายพานมีรอยร้าวหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบเปลี่ยนสายพานทันที


ควรเช็ดทำความสะอาดและเช็คระดับน้ำมันเครื่องด้านล่างของลูกสูบให้มีอยู่กลางช่อง และทำการเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 6 เดือน ต่อมาเป็นตัวกรองอากาศควรนำออกมาเป่าทุกๆ 2 เดือน หรือไม่ก็เปลี่ยนใหม่ทุก 6 เดือน ตัวมอเตอร์ต้องระวังเป็นพิเศษ อย่าให้โดนน้ำโดยเด็ดขาด ไม่งั้นอาจจะไหม้ได้ ส่วนจุดต่อสายไฟต้องตรวจดูว่ายึดติดแน่นหรือไม่ เพื่อกันการสถิตกันขณะมอเตอร์ทำงาน ถังเก็บลมควรถ่ายน้ำขังออกทุกวันเพื่อป้องกันการเกิดสนิมและวางให้ห่างจากกำแพง เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำได้แล้ว

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

การติดตั้งปั๊มน้ำที่ถูกวิธี

หลังจากที่เรารู้กันแล้วว่าปั๊มน้ำคืออะไร มีกี่ชนิด คราวนี้เรามาดูระบบการติดตั้งของมันกันดีกว่าว่าติดตั้งอย่างไร

การติดตั้งปั๊มน้ำนั้นเราไม่ได้คำนึงถึงความสะดวกสบายในการใช้เพียงอย่างเดียว แต่เราคำนึงถึงการประหยัดค่าไฟ ค่าน้ำด้วย ส่วนใหญ่วิธีที่นิยมติดตั้งกันมากที่สุดคือ การติดตั้งแบบดึงตรง คือการติดตั้งแบบต่อกับแท็งก์น้ำ วิธีนี้ต้องติดตั้งแท็งก์น้ำเพิ่ม แล้วให้ปั๊มดึงน้ำจากแท็งก์เข้าบ้าน วิธีนี้จะช่วยประหยัดไฟกว่าวิธีอื่นเป็นพิเศษ และที่สำคัญคือการติดตั้งแท็งก์น้ำจะช่วยให้น้ำใช้หรือน้ำฝักบัวของเราไม่มีตะกอน เพราะเวลาที่น้ำเข้าแท็งก์ตัวตะกอนจะตกลงก้นแท็งก์ก่อน เมื่อเราใช้ปั๊มดึงก็จะได้น้ำที่สะอาดออกมา ทีนี้ก็จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดน้ำได้เยอะ


เมื่อเรารู้วิธีการติดตั้งปั๊มน้ำกันไปแล้ว เรามาดูการติดตั้งแทงก์น้ำกันดีกว่า
- ควรติดตั้งใกล้ท่อน้ำประปาภายนอกบ้านให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำไหลเข้าถังได้สะดวก
- ควรใช้ท่อน้ำเข้าถังขนาดใหญ่ อย่างน้อยขนาด 3/4 หรือ 1 นิ้ว
- การเคลื่อนย้าย-ติดตั้ง ต้องระวังไม่ให้ของมีคมกระแทกถัง อาจทำให้ถังชำรุดได้
- ควรติดตั้งให้มีพื้นที่สำหรับเข้าทำงานซ่อมแซมได้สะดวก
- กรณีติตดั้งในที่โล่งมีลมแรง ควรยึดถังกับขาให้แน่นหนา และยึดขาถังกับพื้น และควรมีน้ำเต็มในถังตลอดเวลา เพื่อป้องกันถังล้มเนื่องจากลมแรง
- ถังน้ำสเตนเลสขนาดใหญ่ หรือในพื้นที่ที่ดินอ่อนมาก ควรเทพื้นซีเมนต์เสริมโครงเหล็กโดยใช้เหล็กเส้นขนาด 6 มม. หรือ 2 หุน ผูกเป็นตารางขนาดประมาณ 20 X 20 ซม. โดยเทพื้นหนาประมาณ 8 – 10 ซม รองรับด้วย ขนาดกว้าง-ยาวให้ใหญ่พอที่จะตั้งถังได้สะดวก หรืออาจจะเผื่อพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำด้วยก็จะดีมาก

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ปั๊มน้ำคืออะไร และมีกี่ประเภทเรามาดูกัน

หลายๆคนอาจจะคุ้นเคยกับมันดี เพราะทุกบ้านจำเป็นต้องใช้มัน เรามาดูกันดีกว่าว่าปั๊มน้ำคืออะไร มีกี่ประเภท และเราควรจะเลือกซื้อยังไง
www.yonghong.co.th



ปั๊มน้ำ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกสบายต่อผู้บริโภคมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ทำรายได้ดีให้กับร้านค้าอุปกรณ์เครื่องจักรกลต่างๆ คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามีกี่ประเภท
  1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ เป็นปั๊มที่เวลาเปิดก๊อกน้ำแล้วปั๊มจะทำงานทันที พอเราเลิกใช้ปั๊มก็จะหยุดทำงาน ส่วนใหญ่บ้านที่เป็นบ้านเดี่ยวจะใช้ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบพิเศษ ปั๊มอัตโนมัติจะมีอยู่ 2 แบบ 
    • ปั๊มมีถังแรงดันอากาศ จะมีอายุการใฃ้งานนานกว่า แต่ตัวถังของมันทำมาจากเหล็กแล้วเคลือบด้านใน พอมีอายุการใช้งานไปนานๆ จะเกิดสนิม เวลารั่วต้องเปลี่ยนถังใหม่ แต่ในปัจจุบันมีขายเฉพาะตัวถัง
    • ปั๊มแรงดันคงที่ ถ้าเราเปิดน้ำ 4 จุดพร้อมกัน แรงดันน้ำจะไหลเท่ากันทั้ง 4 จุด ไม่ว่าก๊อกน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ถ้าเทียบกับปั๊มตัวบน ปั๊มชนิดนี้จะดึงน้ำได้แรงกว่า เพราะปัจจุบันหลายยี่ห้อทำเป็นถังสแตนเลส จะมีอายุการใช้งานนานขึ้น
  2. ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ ใช้สำหรับการดึงน้ำ มีให้เลือกหลายขนาด ถ้าเราต้องการให้ดึงน้ำเร็วต้องใช้ตัวที่วัตต์สูง แต่ถ้าไม่ต้องการดึงน้ำมาก ก็ใช้วัตต์น้อยๆ สำหรับปั๊มฃนิดนี้จะมีอยู่ 2 ฃนิด คือ มีลูกลอย เมื่อจุ่มน้ำสูงลูกลอยจะลอยขึ้น พอดูดน้ำหมดลูกลอยก็จะจมลง ปั๊มก็จะตัดอัตโนมัติ อีกชนิดคือไม่มีลูกลอย ต้องเปิด-ปิดสวิตซ์เอง
  3. ปั๊มหอยโข่ง ใช้สำหรับการดึงน้ำเก็บใส่ถัง เช่น ดึงน้ำขึ้นไปบนตึกสูงๆ หรือในการเกษตรคือส่งน้ำไปไกลๆ เพราะปั๊มชนิดนี้จะมีแรงม้าสูง แต่ไม่ได้เป็นระบบอัตโนมัติ เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่อง
  4. ปั๊มกึ่งอัตโนมัติ จะมีลักษณะคล้ายๆกับปั๊มอัตโนมัติ แต่เราต้องเปิด-ปิดสวิตซ์เอง ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะนิยมแบบอัตโนมัติ
คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าเราควรจะเลือกซื้อปั๊มน้ำแบบไหนถึงจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าตังของเรา


การเลือกใช้ปั๊มน้ำนั้นต้องคำนึงถึงจำนวนผู้อยู่อาศัย ถ้าเป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ต้องเลือกใช้ปั๊มขนาด 100-150 วัตต์ หรือถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น เลือกใช้แค่ 100 วัตต์ก็พอ แต่ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเพิ่มเป็น 150 วัตต์ เพราะจะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำอุ่นหรือเมื่อเราเปิดก๊อกน้ำหลายจุดพร้อมกัน สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ประหยัดไฟคือการเลือกใช้ฝักบัว จะช่วยประหยัดค่าน้ำเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเป็นฝักบัวแบบที่เปิดแล้วน้ำออกมาเป็นสาย จะเปลืองน้ำกว่า และกินไฟมากเพราะมอเตอร์ปั๊มน้ำจะทำงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่เราเลือกฝักบัวที่มีความละเอียดเวลาน้ำออกมา มอเตอร์จะไม่ทำงานหนักเพราะมันจะไม่ทำงานต่อเนื่อง ถึงจะดีในการเลือกใช้